วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

โครงสร้างและหน้าที่ของราก

ราก (Root) 

          เป็นอวัยวะหรือส่วนของพืชที่ไม่มี ข้อ ปล้อง ตา และใบ ทิศทางการเจริญเติบโต เจริญลงสู่ดินตามแรงดึงดูดของโลก(Positivegeotropism ) มีกำเนิดมาจาก radicle ของต้นอ่อน (embryo) ซึ่งอยู่ภายในเมล็ด รากที่เปลี่ยนแปลงมาจากเรดิเคิล จัดเป็นรากที่มีการเจริญในระยะแรก (Primary growth) ส่วนรากของพืชใบเลี้ยงคู่หรือ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด จะมีการเจริญเติบโตขั้นที่2 (Secondary growth)

1. การแบ่งบริเวณของราก
เนื่องจากรากถือได้ว่าเป็นอวัยวะหนึ่งของพืชจึงประกอบด้วยเนื้อเยื่อชนิดต่าง ๆ โครงสร้างภายในของรากนับจากปลายสุดของรากขึ้นไป แบ่งเป็นบริเวณต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้
 1.1 บริเวณหมวกราก (Root cap) ประกอบด้วยเซลล์ พาเรงคิมา หลายชั้น
ที่ปกคลุมเนื้อเยื่อเจริญที่ปลายรากที่อ่อนแอไว้ เซลล์ในบริเวณนี้มีอายุสั้น เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีการฉีกขาดอยู่เสมอ เพราะส่วนนี้จะยาวออกไปและชอนไชลึกลงไปในดินเซลล์เรียงตัวกันอย่างหลวม ๆส่วนใหญ่รากพืชจะมีหมวกราก ซึ่งเป็นโครงสร้างที่สำคัญในการเบิกนำส่วนอื่น ๆ ของรากลงไปในดิน เป็นการป้องกันส่วนอื่น ๆ ของรากไม่ให้เป็นอันตรายในการไชลงดิน เซลล์บริเวณหมวกรากจะหลั่งเมือกลื่น(Mucilage) ออกมา สำหรับให้ปลายรากแทงลงไปในดินได้ง่ายขึ้น

 1.2 บริเวณเซลล์แบ่งตัว (Region of cell division) อยู่ถัดจากบริเวณหมวกรากขึ้นไป ประกอบด้วยเซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญบริเวณปลายราก (Apical meristem)
ที่ได้กล่าวไว้ในเรื่องเนื้อเยื่อเจริญ เซลล์มีขนาดเล็ก มีผนังเซลล์บาง ในแต่ละเซลล์
มี โพรโทพลาซึม เข้มข้นและมีปริมาณมากเป็นบริเวณที่มีการแบ่งเซลล์แบบ
ไมโทซิส (Mitosis) บางเซลล์ที่แบ่งได้จะทำหน้าที่แทนเซลล์หมวกรากที่ตายไปก่อนบางส่วนจะยืดตัวยาวขึ้นแล้วอยู่ในบริเวณเซลล์ยืดตัวที่เป็นส่วนที่อยู่สูงขึ้นไป

 1.3 บริเวณเซลล์ยืดตัวตามยาว (Region of cell elongation) ประกอบด้วย
เซลล์ที่มีรูปร่างยาว ซึ่งเกิดมาจากเซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญที่แบ่งตัวแล้ว อยู่ในบริเวณ
ที่สูงกว่าบริเวณเนื้อเยื่อเจริญ การที่เซลล์ขยายตัวตามยาวทำให้รากยาวเพิ่มขึ้น

 1.4 บริเวณเซลล์เจริญเติบโตเต็มที่ (Region of maturation) อยู่สูงถัดจากบริเวณเซลล์ยืดตัวขึ้นมา เซลล์ในบริเวณนี้เจริญเติบโตเต็มที่แล้วมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเนื้อเยื่อถาวรชนิดต่าง ๆในบริเวณนี้มีเซลล์ขนราก (Root hair cell) เป็นเซลล์เดี่ยวที่มีขนรากเป็นส่วนหนึ่งของผนังเซลล์ยื่นออกไปเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมน้ำและแร่ธาตุ เซลล์ขนรากเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ เอพิเดอร์มิส บางเซลล์ เซลล์ขนรากจะมีอยู่เฉพาะบริเวณนี้เท่านั้นเซลล์ขนรากมีอายุประมาณไม่เกิน 7-8 วัน แล้วจะเหี่ยวแห้งตายไป แต่ขนรากในบริเวณเดิมจะมีเซลล์ใหม่สร้างเซลล์ขนรากขึ้นมาแทนที่ เนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณนี้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อเจริญไปเป็นเนื้อเยื่อถาวรชนิดต่าง ๆ ต่อไปเซลล์บริเวณขนราก เป็นเซลล์ที่เริ่มแก่ตัวแล้วเจริญไปเป็นเนื้อเยื่อถาวรชนิดเนื้อเยื่อถาวรขั้นต้น (Primary permanent tissue) บริเวณขนรากประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชนิดคือ เอพิเดอร์มิส (Epidermis) คอร์เทกซ์ (Cortex) และสตีล (Stele)





 2. โครงสร้างภายในของราก

           เนื้อเยื่อของรากพืชใบเลี้ยงคู่และใบเลี้ยงเดี่ยว เมื่อตัดตามขวางแล้วนำไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบว่ามีการเรียงตัวของเนื้อเยื่อเป็นชั้น ๆ เรียงจากด้านนอกเข้าสู่ด้านใน ดังนี้

  2.1. เอพิเดอร์มิส (Epidermis) เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุดมีการเรียงตัวของเซลล์เพียงชั้นเดียว แต่เรียงชิดกัน เซลล์มีผนังบางไม่มีคลอโรพลาสต์ มีแวคิวโอลขนาดใหญ่ บางเซลล์เปลี่ยนไปเป็นเซลล์ขนราก เอพิเดอร์มิส มีหน้าที่ป้องกันอันตรายให้แก่เนื้อเยื่อที่อยู่ภายในขนรากของเอพิเดอร์มิส ช่วยดูดน้ำและแร่ธาตุ และป้องกันไม่ให้น้ำเข้ารากมากเกินไป

 2.2 คอร์เทกซ์ (Cortex) อยู่ระหว่างชั้น เอพิเดอร์มิส และสตีล เนื้อเยื่อส่วนนี้ประกอบด้วยเซลล์ พาเรงคิมา เป็นส่วนใหญ่ เซลล์เหล่านี้มีผนังบางอ่อนนุ่ม อมน้ำได้ดีเซลล์พาเรงคิมา ทำหน้าที่สะสมน้ำและอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ชั้นในสุดของคอร์เทกซ์ คือ เอนโดเดอร์มิส

 2.3 เอนโดเดอร์มิส (Endodermis) เป็นเซลล์แถวเดียวกันเหมือนกับเอพิเดอร์มิส เอนโดเดอร์มิสจะเห็นได้ชัดเจนในรากของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เซลล์ชั้นนี้เมื่อมีอายุมากขึ้นจะมีสารซูเบอลิน (Suberin) หรือ ลิกนิน (Lignin) มาเคลือบทำให้ผนังหนาขึ้น ทำให้เป็นแถบหรือปลอกอยู่ เซลล์แถบหนาดังกล่าว เรียกว่าแคสพาเรียนสตริป (Casparian strip)สำหรับแคสพาเรียนสตริปนี้ น้ำและอาหารไม่สามารถผ่านเข้าออกได้โดยสะดวก ช่วงนี้จะอยู่ในบริเวณที่มีขนราก บางทฤษฎีอธิบายว่า การลำเลียงน้ำและแร่ธาตุสามารถผ่านเซลล์บางเซลล์ที่อยู่ในชั้น เอนโดเดอร์มิสได้ เซลล์เหล่านี้มีผนังบางเรียกว่า พ
าสเซจเซลล์ (Passage cell) และพาสเซจเซลล์นี้จะอยู่ตรงกับแนวของท่อไซเลม

 2.4 สตีล (Stele) เป็นชั้นที่อยู่ถัดจากชั้น เอนโดเดอร์มิส เข้าไปในราก สตีลจะแคบกว่า คอร์เทกซ์ สตีล ประกอบด้วยชั้นต่าง ๆ คือ
     2.4.1 เพริไซเคิล (Pericycle) ประกอบด้วยเซลล์ พาเรงคิมา เป็นส่วนใหญ่ เซลล์เรียงตัวแถวเดียว แต่อาจมีมากกว่าแถวเดียวก็ได้ ชั้นนี้อยู่ด้านนอกสุดของสตีล เพริไซเคิล พบเฉพาะในรากเท่านั้น และเห็นชัดเจนในรากพืชใบเลี้ยงคู่เพริไซเคิล เป็นส่วนที่ให้กำเนิดรากแขนง (Secondary root) ที่แตกออกทางด้านข้าง(Lateral root)
61

    2.4.2 มัดท่อลำเลียงหรือวาสคิวลาร์บันเดิล (Vascular bundle)
ประกอบด้วยไซเลม และโฟลเอ็ม ในรากพืชใบเลี้ยงคู่จะเห็นการเรียงตัวของไซเลมที่อยู่ใจกลางราก เรียงเป็นแฉก (Arch) ชัดเจนและมีโฟลเอ็มอยู่ระหว่างแฉกนั้น แฉกที่เห็นมีจำนวน 1-6 แฉก แต่โดยทั่วไปพบเพียง 4 แฉก สำหรับรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวไซเลมมิได้เข้าไปอยู่ใจกลางราก แต่ยังเรียงตัวเป็นแฉกและมีโฟลเอ็มแทรกอยู่ระหว่างแฉกเช่นเดียวกัน จำนวนแฉกของไซเลมในรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีมากกว่าในรากพืชใบเลี้ยงคู่รากพืชใบเลี้ยงคู่ยังมี วาสคิวลาร์ แคมเบียม (Vascular cambium) หรือแคมเบียม (Cambium) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเจริญเกิดขึ้นระหว่าง โฟลเอ็มขั้นแรกและไซเลมขั้นแรก รายละเอียดของเนื้อเยื่อลำเลียงกล่าวไว้แล้วในหัวข้อเนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อนวาสคิวลาร์ แคมเบียม ทำให้เกิดการเจริญเติบโตขั้นที่สอง (Secondary growth) โดยแบ่งตัวให้ไซเลมขั้นที่สอง (Secondary xylem) อยู่ทางด้านในและโฟลเอ็มขั้นที่สอง (Secondary phloem) อยู่ทางด้านนอก เมื่อมีการเจริญเติบโตขั้นที่สองเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้โฟลเอ็มขั้นแรก คอร์เทกซ์และเอพิเดอร์มิสถูกดันออกและถอยร่นออกไป

     2.4.3 พิธ (Pith) เป็นส่วนใจกลางของราก หรืออาจเรียกว่า ไส้ในของราก ประกอบด้วยเซลล์ พาเรงคิมาในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะเห็นส่วนนี้ได้อย่างชัดเจนส่วนในรากพืชใบเลี้ยงคู่ ใจกลางของรากจะเป็นไซเลม



ตาราง แสดงความแตกต่างระหว่างโครงสร้างภาคตัดขวางรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว                      และรากพืชใบเลี้ยงคู่


รากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

รากพืชใบเลี้ยงคู่

1. มีขนราก

1. มีขนรากในช่วงที่เมล็ดงอกใหม่ เมื่อเจริญเติบโตแล้วจะไม่มีขนราก

2. มีไซเล็มเรียงเป็นแฉกมากกว่า 6 แฉก

2. มีไซเล็มเรียงเป็นแฉกประมาณ 3-4 แฉก

3. ปกติไม่มีเนื้อเยื่อวาสคิวลาร์แคมเบียม อยู่ระหว่างไซเล็มกับโฟลเอ็ม จึงไม่มีการเจริญเติบโต ในระยะทุติยภูมิ ยกเว้นพืชบางชนิด

3. มีเนื้อเยื่อวาสคิวลาร์แคมเบียม อยู่ระหว่างไซเล็ม กับ โฟลเอ็ม เพื่อให้กำเนิดเนื้อเยื่อ ที่เจริญเติบโตในระยะทุติยภูมิ

4.ไม่มีคอร์ก และคอร์แคมเบียม

4. ถ้าเป็นไม้ต้น จะมีคอร์ก และ คอร์กแคมเบียม

5. เอนโดเดอร์มิสเห็นเป็นแนวชัดเจนดี และ เห็นแคสพาเรียนสตริพ เด่นชัดกว่าในรากพืชใบเลี้ยงคู่

5. เอนโดเดอร์มิส เรียงชั้นเดียว มีผนังค่อนข้างหนา และมีเม็ดแป้งมาก และส่วนใหญ่มักเห็นเอนโดเดอร์มิสไม่ชัด หรือ ไม่มีเลย

 

  3. หน้าที่ของราก
รากมีหน้าที่หลักที่สำคัญ คือ
   3.1 ดูด (Absorption) น้ำและแร่ธาตุที่ละลายน้ำจากดินเข้าไปในลำต้น
   3.2 ลำเลียง (Conduction) น้ำและแร่ธาตุรวมทั้งอาหารซึ่งพืชสะสมไว้ในรากขึ้นสู่ส่วนต่าง ๆ ของลำต้น
   3.3 ยึด (Anchorage) ลำต้นให้ติดกับพื้นดิน
   3.4 แหล่งสร้างฮอร์โมน (Producing hormones) รากเป็นแหล่งสำคัญในการผลิตฮอร์โมนพืชหลายชนิด เช่น ไซโทไคนิน จิบเบอเรลลิน ซึ่งจะถูกลำเลียงไปใช้เพื่อการเจริญพัฒนาส่วนของลำต้น ส่วนยอด และส่วนอื่น ๆ ของพืช นอกจากนี้ยังมีรากของพืชอีกหลายชนิดที่ทำหน้าที่พิเศษ

    4. ชนิดของราก
ถ้าพิจารณาตามการเกิดของราก แบ่งรากได้เป็นชนิดใหญ่ ๆ ได้ 3 ชนิด ตามจุดกำเนิดของราก ดังนี้
        4.1 รากแก้ว (Primary root หรือ Tap root) เป็นรากที่เจริญมาจาก แรดิเคิล(Radicle) ของเอ็มบริโอ แล้วพุ่งลงสู่ดิน ตอนโคนรากจะใหญ่แล้วค่อย ๆ เรียวไปจนถึงปลายราก พืชหลายชนิดมีรากแก้วเป็นรากสำคัญตลอดชีวิต
   
        4.2 รากแขนง (Secondary root หรือ Lateral root) เป็นรากที่เจริญมาจากเพริไซเคิล ของรากแก้ว การเจริญเติบโตของรากชนิดนี้จะขนานไปกับพื้นดินและสามารถแตกแขนงได้เรื่อยไป

   
        4.3 รากพิเศษ (Adventitious root) เป็นรากที่งอกจากส่วนต่าง ๆ ของพืชเช่น ลำต้นหรือใบ อาจจำแนกตามรูปร่างและหน้าที่ได้เป็น
              4.3.1 รากฝอย (Fibrous root) เป็นรากที่งอกออกจากโคนลำต้น เพื่อแทนรากแก้วที่ฝ่อไป พบมากในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเช่น รากข้าว ข้าวโพด หญ้า หมากมะพร้าว เป็นต้น
              4.3.2 รากค้ำจุน (Prop root หรือ Buttress root) เป็นรากที่งอกจากโคนต้นหรือกิ่งบนดินแล้วหยั่งลงดินเพื่อพยุงลำต้น เช่น รากข้าวโพดที่งอกออกจากโคนต้น รากเตย ลำเจียกไทรย้อย แสม โกงกาง ดังภาพที่ 2-11 เป็นภาพถ่ายจากพิพิธภัณฑ์นิเวศป่าชายเลนโรงเรียนบางปะกง  “บวรวิทยายน” อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

         
            4.3.3 รากเกาะ (Climbing root) เป็นรากที่แตกออกจากข้อของลำต้นมาเกาะตามหลัก เพื่อชูลำต้นขึ้นสูง เช่น รากพลู พริกไทย กล้วยไม้  พลูด่าง เป็นต้น

         
 4.3.4 รากหายใจ (Pneumatophore หรือ Aerating root) เป็นรากที่ยื่นขึ้นมาจากดินหรือน้ำเพื่อรับออกซิเจน เช่น รากลำพู แสม โกงกาง และรากส่วนที่อยู่ในนวมคล้ายฟองน้ำของผักกระเฉดก็เป็นรากหายใจโดยนวมจะเป็นที่เก็บอากาศและเป็นทุ่นลอยน้ำด้วย ภาพที่ 2-13 ภาพถ่ายจากริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

           
             4.3.5 รากปรสิต (Parasitic root) เป็นรากของพืชพวกปรสิตที่สร้างHaustoria แทงเข้าไปในลำต้นของพืชที่เป็นโฮสต์ เพื่อแย่งน้ำและอาหารจากโฮสต์ เช่น รากกาฝาก ฝอยทอง เป็นต้น

         
           4.3.6 รากสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthetic root) เป็นรากที่แตกจากข้อของลำต้นหรือกิ่งและอยู่ในอากาศจะมีสีเขียวของคลอโรฟิลล์จึงช่วยสังเคราะห์ด้วยแสงได้ เช่น รากกล้วยไม้ นอกจากนี้รากกล้วยไม้ยังมีนวม (Velamen) หุ้มตามขอบนอกของรากไว้เพื่อดูดความชื้นและเก็บน้ำ


             4.3.7 รากสะสมอาหาร (Food storage root) เป็นรากที่สะสมอาหารพวกแป้งโปรตีน หรือน้ำตาลไว้ จนรากเปลี่ยนแปลงรูปร่างมีขนาดใหญ่ซึ่งมักจะเรียกกันว่า“หัว” เช่น หัวแครอท หัวผักกาด หรือหัวไชเท้า หัวผักกาดแดงหรือแรดิช (Radish)หัวบีท (Beet root) และหัวมันแกว เป็นรากสะสมอาหารที่เปลี่ยนแปลงมาจากรากแก้ว ส่วนรากสะสมอาหารของมันเทศ รักเร่ กระชาย เปลี่ยนแปลงมาจากรากแขนง


             4.3.8 รากหนาม (Thorn Root) เป็นรากที่มีลักษณะเป็นหนามงอกมาจากบริเวณโคนต้น ตอนงอกใหม่ ๆ เป็นรากปกติแต่ต่อมาเกิดเปลือกแข็งทำให้มีลักษณะคล้ายหนามแข็ง ช่วยป้องกันโคนต้นได้ ปกติพบในพืชที่เจริญในที่น้ำท่วมถึง เช่น โกงกาง ส่วนในปาล์มบางชนิดจะปรากฏรากหนาม กรณีที่มีรากลอยหรือรากค้ำจุน








อ้างอิง:
http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/root.html
http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/root.html

วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

โครงสร้างและหน้าที่ของใบ


 ใบ ( Leaves )
             
  เป็นอวัยวะที่เจริญออกไปบริเวณด้านข้างโดยมีตำเหน่งอยู่ที่ข้อปล้องของต้นและกิ่งใบ
ส่วนใหญ่จะมีสีเขียวของคลอโรฟิลล์รูปร่างและขนาดของใบแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช
     
โครงสร้างภายนอกของใบ

โครงสร้างภายนอกของใบที่มีส่วนประกอบสมบูรณ์ (Complete leaf)จะมีส่วนประกอบ 3 ส่วนดังนี้
1.   ตัวใบหรือแผ่นใบ (Lamina หรือ Blade)
2.  ก้านใบ (Petiole หรือ Stalk)
3.  หูใบ (Stipule)

 1.แผ่นใบ ( blade หรือ lamina ) มักแผ่เป็นมีขนาดใบและรูปร่างต่างกัน 
1.1เส้นใบ ( vein ) ให้สังเกตเส้นกลางใบ ( midrib ) ซึ่งต่อเป็นเนื้อเดียวกับก้านใบ จากเส้นกลางใบแยกออกเป็นเส้นใบ ซึ่งจะแยกแขนงออกไปอีกเป็นเส้นแขนงใบ ( vientet ) 
     การเรียงของใบ ( venation )
เส้นใบแบบขนาน ( parallel venation )พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว แบ่งเป็นเรียงตามยาวของใบ (plamately parallel venation) และเส้นใบขนานกันตามขวางของใบ ( pinately parallel venation )

เส้นใบขนาน
เส้นใบแบบขนานตามยาวของใบ (plamately parallel venation) 



                                เส้นใบขนานกันตามขวางของใบ ( pinately parallel venation )


         ส่วนของใบเลี้ยงคู่เป็นแบบตาข่าย ( netted หรือ recticulated venation ) ซึ่งมี 2 แบบคือ 
- แบบตาข่ายขนนก ( pinnately netted venation )
- ตาข่ายแบบรูปมือ ( palmately netted venation )



       2. ก้านใบ ( petiole ) 
              ติดกับแผ่นใบตรงฐานใบ ยกเว้นบางชนิดก้านใบติดตรงกลางหรือตรงด้านในของแผ่นใบ ก้านใบสั้นบ้าง ยาวบ้าง หรือไม่มีก้านใบเลย เรียก sessile leaf ก้านใบโดยมากมีลักษณะกลม ใบพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด ก้านใบแผ่หุ้มลำต้นเรียกกาบใบ ( leaf sheath )


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กาบใบ
           กาบใบ          


ก้านใบ
                                          

            3. หูใบ ( stipule ) 
                      เป็นระยางค์ อยู่ตรงโคนก้านใบ ถ้าเป็นหูใบของในย่อย ( leaflet ) เรียกหูใบย่อย ( stiple ) หูใบมีลักษณะเป็นริ้ว หนามหรือต่อมเล็ก ๆ ส่วนใหญ่มีสีเขียว หูใบมีรูปร่างขนาดและสีต่างกัน


       
  โครงสร้างภายในของใบ
                 
                   ส่วนต่าง ๆ ของใบเมื่อตัดตามขวาง และนำมาส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์พบว่าประกอบด้วยชั้นต่าง ๆ 3 ชั้นคือ
     1. เอพิเดอร์มิส (Epidermis) เป็นเยื่อหุ้มใบที่มีอยู่ทั้งด้านบนและด้านล่างของใบประกอบด้วยเซลล์แถวเดียว และรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าเหมือน
ในลำต้นเป็นเซลล์ที่ไม่มี คลอโรพลาสต์ จึงทำให้ เอพิเดอร์มิส ทั้งด้านบนและด้านล่างไม่มีสีเขียวมี คิวทิน เคลือบที่ด้านนอกของผนังเซลล์จึงป้องกันการระเหยของน้ำออกจากใบเอพิเดอร์มิส ด้านบน (Upper epidermis) มักมี คิวทิน ฉาบหนากว่า เอพิเดอร์มิส ด้านล่าง(Lower epidermis) คิวทิน (Cutin) ที่ฉาบอยู่เป็นเยื่อบาง ๆ ใส ๆ เรียกว่า คิวทิเคิล(Cuticle) มีลักษณะคล้ายขี้ผึ้ง เอพิเดอร์มิส บางเซลล์มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์คุม(Guard cell) อยู่กันเป็นคู่ ๆ มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว หรือคล้ายไต เซลล์คุม 2 เซลล์จะหันด้านเว้าและมีความหนามากกว่ามาประกบกันทำให้เกิดช่องว่าง เรียกว่า ปากใบหรือ
รูใบ(Stomata) เซลล์คุมเป็นเซลล์ที่มีเม็ดคลอโรพลาสต์อยู่ภายใน ในขณะที่เซลล์ของเอพิเดอร์มิส ไม่มีเม็ดคลอโรพลาสต์ใบพืชทั่ว ๆ ไปมักมีปากใบ
อยู่ทางด้านล่าง (Ventral side) ของใบมากกว่าด้านบน หากมีปากใบมากจะเกิดการคายน้ำมาก พืชที่มีใบอยู่ปริ่มน้ำ เช่น บัวสาย ปากใบ
จะอยู่ทางด้านบน (Dorsal side) ของใบเท่านั้น และพืชที่จมอยู่ในน้ำ เช่น สาหร่ายหางกระรอก (ไม่ได้จัดเป็นสาหร่าย แต่เป็นพืชชนิดหนึ่งที่อยู่ในน้ำ) 
ใบของสาหร่ายหางกระรอกจะไม่มีปากใบ และไม่มีสาร คิวทินฉาบใบด้วย จำนวนปากใบของพืชแตกต่างไปตามชนิดของพืช
    
 2. มีโซฟิลล์ (Mesophyll) อาจเรียกว่าเป็นส่วนของเนื้อใบ หมายถึงส่วนของเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่าง เอพิเดอร์มิส ด้านบน และเอพิเดอร์มิส ด้านล่างเนื้อเยื่อส่วนใหญ่เป็นพวก พาเรงคิมา ที่มี คลอโรพลาสต์อยู่ด้วยจึงเรียกชื่อใหม่ว่า คลอเรงคิมา(Chlorenchyma = Chloroplast + Parenchyma) มีโซฟิลล์แบ่งออกเป็นสองชั้นคือ
          1) แพลิเซดมีโซฟิลล์ (Palisade mesophyll) เป็นชั้นที่อยู่ใต้เอพิเดอร์มิส ด้านบนเข้ามาในเนื้อใบประกอบด้วยเซลล์ยาว และแคบเรียงตั้งฉากกับ
เอพิเดอร์มิส ด้านบน (ลักษณะคล้ายเสารั้ว) เซลล์เรียงกันเป็นแถวอัดแน่น อาจจัดตัวเรียงเป็นแถวเดียวหรือหลายแถวขึ้นอยู่กับชนิดของพืช ภายในเซลล์เหล่านี้มี คลอโรพลาสต์อยู่กันอย่างหนาแน่นเต็มไปหมด เรียกเซลล์เหล่านี้ว่า แพลิเซดเซลล์ (Palisade cell)
          2) สปันจีมีโซฟิลล์ (Spongy mesophyll) เป็นชั้นที่อยู่ถัดจากแพลิเซดมีโซฟิลล์ เข้าไปอีก จนถึง เอพิเดอร์มิส ด้านล่าง เป็นเซลล์ที่อยู่กันอย่างหลวม ๆไม่เป็นระเบียบ เซลล์มีรูปร่างค่อนข้างกลม จึงเรียกเซลล์เหล่านี้ว่า สปันจีเซลล์ (Spongycell) มีช่องว่างระหว่างเซลล์มาก ผิวเซลล์จึงมีโอกาสสัมผัสกับอากาศได้มาก ทำให้แก๊สต่าง ๆ แพร่เข้าออกได้สะดวก ในแต่ละเซลล์มีปริมาณ คลอโรพลาสต์ น้อยกว่าเซลล์ในชั้น แพลิเซดมีโซฟิลล์ 
จึงทำให้ด้านล่างของใบมีสีเขียวน้อยกว่าด้านบนของใบ
    
  3. มัดท่อลำเลียง (Vascular bundle) คือส่วนของเส้นใบขนาดต่าง ๆกันที่อยู่ภายในเนื้อใบนั่นเอง มัดท่อลำเลียงประกอบด้วย ไซเลม และโฟลเอ็มมาเรียงติดต่อกันเป็นเส้นใบ มัดท่อลำเลียงมีกลุ่มเซลล์ที่เรียกว่า บันเดิลชีท (Bundle sheath)ล้อมรอบ จึงทำให้มัดท่อลำเลียงมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น บันเดิลชีท ประกอบด้วยเซลล์พาเรงคิมา หรือ สเกลอเรงคิมา เรียงตัวกันอยู่ 1 หรือ 2 ชั้น ส่วนใหญ่ของมัดท่อลำเลียงอยู่ในชั้น สปันจีมีโซฟิลล์ จึงเห็นเส้นใบนูนออกทางด้านท้องใบ




       หน้าที่ของใบ
หน้าที่สำคัญของใบ มี 3 ประการคือ
      - สร้างอาหารด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
      - หายใจ (Respiration)
      - คายน้ำ (Transpiration)
นอกจากนั้นใบยังมีหน้าที่อื่น ๆ ได้แก่
      1. ยึดหรือค้ำจุนลำต้น โดยเปลี่ยนไปเป็นมือเกาะ(คล้ายกับลำต้นที่ได้กล่าวมาแล้ว)
      2. สะสมอาหารและน้ำ เช่นกาบกล้วย ใบว่านหางจระเข้ กลีบหัวหอมเป็นต้น
      3. แพร่พันธุ์ เช่นใบต้นตายใบเป็น หรือเศรษฐีพันล้าน ทองสามย่านที่มีการสร้างตา
    บริเวณใบ ซึ่งตามปกติแล้วใบไม่มีตา
     4. ป้องกันลำต้น ด้วยการเปลี่ยนใบเป็นหนาม เช่น หนามเหงือกปลาหมอ 
    หนามกระบองเพชร
     5. ช่วยผสมเกสรโดยเปลี่ยนเป็นกลีบดอกและใบประดับสีต่าง ๆเพื่อล่อแมลง
     6. ป้องกันยอดอ่อนหรือใบอ่อน เช่น เปลี่ยนเป็นเกล็ดหุ้มตา

ชนิดของใบ
ใบพืชแบ่งออกเป็นชนิดต่าง ๆ โดยแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 ชนิดคือใบแท้และใบที่เปลี่ยนแปลงไป

   1.ใบเลี้ยง (Cotyledon) เป็นใบแรกของพืชที่อยู่ในเมล็ด ทำหน้าที่สะสมอาหารเพื่อเลี้ยงต้นอ่อนขณะงอก ถ้าเป็นพืชใบเลี้ยงคู่จะมีใบเลี้ยง 2 ใบ แต่ถ้าเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีใบเลี้ยงใบเดียว เช่น อ้อย ข้าว ข้าวโพด กล้วย เป็นต้น
  
  2. ใบแท้ (Foliage leaf) เป็นใบที่มีสีเขียวทำหน้าที่สร้างอาหารด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่หายใจและคายน้ำด้วย
ใบแท้ของพืชแบ่งออกเป็น2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือใบเดี่ยว (Simple leaf) และใบประกอบ(Compound leaf)

2.1 ใบเดี่ยว หมายถึงใบที่มีตัวใบเพียงแผ่นเดียวหรือใบเดียวติดอยู่กับก้านใบ (Petiole) ที่แตกออกมาจากลำต้นหรือกิ่ง เช่นใบอ้อย กล้วย ชมพู่ มะม่วง ถึงแม้ใบนั้นจะหยักเว้า แต่ไม่แหว่งจนหลุดออกจากกัน ถือว่าเป็นใบเดี่ยวทั้งสิ้น เช่น มะละกอ มะม่วง ชมพู่ อ้อย ละหุ่ง มันสำปะหลัง ลูกใต้ใบ ฟักทอง ตำลึง ตาล สาเกเหงือกปลาหมอ ต้นไทร เป็นต้น

2.2 ใบประกอบ เป็นใบที่แยกออกเป็นใบเล็ก ๆ ตั้งแต่ 2 ใบขึ้นไปติดอยู่กับก้านใบก้านเดียว เช่น ใบกุหลาบ จามจุรี มะขาม กระถิน มะพร้าว 
หางนกยูงไทยเป็นต้น ใบเล็ก ๆ ของใบประกอบนี้เรียกว่า ใบย่อย (Leaflet หรือ Pinna) ก้านใบของ ใบย่อยเรียกว่า ก้านใบย่อย (Petiolule) ส่วนก้านที่อยู่ระหว่างก้านใบย่อยเรียกว่า ราคิส (Rachis)




        3. ใบที่เปลี่ยนแปลงไป (Modified leaf) เป็นใบที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากใบแท้ที่มีสีเขียวและแผ่แบน ไปเป็นรูปอื่นที่เหมาะสมกับหน้าที่ได้แก่

  3.1 ใบสะสมอาหาร (Storage leaf) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นที่เก็บสะสมอาหาร จึงมีลักษณะอวบหนา ได้แก่ใบเลี้ยง (Cotyledon) และใบพืชอีกหลายชนิด เช่น ใบว่านหางจระเข้ หัวหอม หัวกระเทียม กาบกล้วย ส่วนกะหล่ำปลี เก็บอาหารสะสมไว้ที่เส้นใบ และก้านใบอนึ่งใบเลี้ยงเป็นใบแรกที่อยู่ในเมล็ดพืช บางชนิดมีใบเลี้ยงขนาดใหญ่เนื่องจากการสะสมอาหารไว้ โดยดูดอาหารมาจาก เอนโดสเปิร์ม (Endosperm) เพื่อนำไปใช้ในการงอกของต้นอ่อน ใบเลี้ยงจึงมีลักษณะอวบใหญ่ ใบเลี้ยงยังมีหน้าที่ปกคลุมเพื่อป้องกันยอดอ่อนไม่ให้เป็นอันตราย ในพืชบางชนิดเมื่อยอดอ่อนแทงทะลุดินขึ้นมา
และเมื่อพ้นดินแล้วยังช่วยสร้างอาหารอีกด้วย

ว่านหางจระเข้


  3.2 ใบดอก (Floral leaf) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปมีสีสวยงามคล้ายกลีบดอกทำหน้าที่ช่วยล่อแมลงเช่น หน้าวัว (เป็นส่วนที่เป็นแผ่นสีแดงเรียกว่า Spathe)อุตพิด คริสต์มาส เฟื่องฟ้า

ใบประดับของเฟื่องฟ้า

  3.3 ใบประดับ (Bract) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไป ทำหน้าที่ช่วยรองรับดอกหรือช่อดอกอยู่บริเวณซอกใบและมักมีสีเขียวแต่อาจมีสีอื่นก็ได้ ใบประดับมิได้เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของดอก ตัวอย่างเช่น กาบปลีของกล้วย กาบเขียง (ใบที่หุ้มจั่นมะพร้าวและหมาก) ของมะพร้าวและหมาก ซึ่งมีสีเขียว บางท่านจัดรวมใบดอกและใบประดับไว้เป็นชนิดเดียวกัน แต่ถ้ามีสีสวยงามเรียกว่า ใบดอก

ใบประดับของต้นคริสมาศ


  3.4 ใบเกล็ด (Scale leaf) เป็นใบที่เปลี่ยนมาจากใบแท้ เพื่อทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้แก่ตาและยอดอ่อน ใบเกล็ดไม่มีสีเขียวเพราะไม่มีคลอโรฟิลล์ เช่นใบเกล็ดของสนทะเล ที่เป็นแผ่นเล็ก ๆ ติดอยู่รอบ ๆ ข้อ ใบเกล็ดของโปร่งฟ้า เป็นแผ่นเล็ก ๆ ติดอยู่ตรงข้อเช่นเดียวกัน ใบเกล็ด ของขิง ข่า เผือก แห้วจีน เป็นต้น นอกจากนี้ใบเกล็ดบางชนิดยังสะสมอาหารไว้ด้วย ใบเกล็ดจึงมีขนาดใหญ่ เช่น หัวหอม หัวกระเทียม

ข่า


  3.5 เกล็ดตา (Bud scale) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่หุ้มตาหรือคลุมตาไว้ เมื่อตาเจริญเติบโตออกมา จึงดันให้เกล็ดหุ้มตาหลุดไปพบใน
ต้นยาง จำปี สาเก เป็นต้น


 3.6 มือเกาะ (Leaf tendrill) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นมือเกาะเพื่อยึดและพยุงลำต้นให้ขึ้นสูง มือเกาะอาจเปลี่ยนมาจากใบบางส่วน หรือใบทั้งใบก็ได้ตัวอย่างมือเกาะของถั่วลันเตา ถั่วหอม บานบุรีสีม่วง มะระ ดองดึง หวายลิงกะทกรก เป็นต้น

ตำลึง


 3.7 หนาม (Leaf spine) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงเป็นหนาม เพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์ที่มากัดกิน พร้อมกับป้องกันการคายน้ำ เนื่องจากปากใบลดน้อยลงกว่าปกติ หนามที่เกิดอาจมีการเปลี่ยนแปลงทั้งใบกลายเป็นหนาม หรือบางส่วนของใบกลายเป็นหนามก็ได้ ตัวอย่างเช่น หนามของต้นเหงือกปลาหมอเปลี่ยนแปลงมาจากขอบใบและหูใบ หนามของต้นกระบองเพชรเปลี่ยนแปลงมาจากใบ หนามมะขามเทศเปลี่ยนแปลงมาจากหูใบ หนามของศรนารายณ์ (หรือต้นร้อยปี) เปลี่ยนแปลงมาจากขอบใบ เป็นต้น

กระบองเพชร
 3.8 ฟิลโลด (Phyllode หรือ Phyllodium) บางส่วนของใบเปลี่ยนแปลงไปเป็นแผ่นแบนคล้ายใบแต่แข็งแรงกว่าปกติทำให้ไม่มีตัวใบที่แท้จริง
จึงลดการคายน้ำได้ด้วย เช่น ใบกระถินณรงค์ ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากก้านใบ

 3.9 ทุ่นลอย (Floating leaf) พืชน้ำบางชนิดมีการเปลี่ยนแปลงก้านใบให้พองโตคล้ายทุ่น ภายในมีเนื้อเยื่อที่จัดตัวอย่างหลวม ๆ ทำให้มีช่องอากาศกว้างใหญ่ สามารถพยุงลำต้นให้ลอยน้ำมาได้ เช่น ผักตบชวา

ผักตบชวา


 3.10 ใบแพร่พันธุ์ (Vegetative reproductive organ) เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อช่วยแพร่พันธุ์โดยบริเวณของใบที่มีลักษณะเว้าเข้าเล็กน้อยมีตา(Aventitious bud) ที่งอกต้นเล็ก ๆ ออกมาได้ ตัวอย่างเช่น ใบของต้นตายใบเป็น(หรือคว่ำตายหงายเป็น) ต้นเศรษฐีพันล้าน ต้นโคมญี่ปุ่น เป็นต้น

ต้นตายใบเป็น

 3.11 ใบจับแมลง (Insectivorous leaf หรือ Carnivorous leaf)เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นกับดักแมลง หรือสัตว์ขนาดเล็ก ภายในกับดักมีต่อมสร้างเอนไซม์ประเภทโพรทีเอส (Protease) ที่ย่อยโปรตีนสัตว์ที่ติดอยู่ในกับดักได้ พืชชนิดนี้มีใบปกติที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้เหมือนพืชทั่ว ๆ ไป แต่พืชเหล่านี้มักอยู่ในที่มีความชื้นมากกว่าปกติ อาจขาดธาตุอาหารบางชนิดจึงต้องมีส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นกับดัก เช่น ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง (หรือน้ำเต้าฤๅษี) ต้นกาบหอยแครง ต้นหยาดน้ำค้างต้นสาหร่ายข้าวเหนียวหรือสาหร่ายนา (ไม่ใช่สาหร่ายแต่เป็นพืชน้ำขนาดเล็ก) เป็นต้น

ใบกับดักของต้นกาบอยแคลงเวลาหุบใบ









อ้างอิง :
http://www.dnp.go.th/botany/BFC/leaf.html
http://www.nana-bio.com/e-learning/plant%20organ/leaf.htm
http://www.student.chula.ac.th/~56370191/content5.html


วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น

 ลำต้น (Stem) 
             
               เป็นอวัยวะของพืชที่ส่วนใหญ่จะเจริญขึ้นเหนือดิน เจริญมาจากส่วนที่เรียกว่า Hypocotyl 
ของเมล็ด ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ ข้อ (Node) ส่วนใหญ่มักมีตา (Bud) ซึ่งจะเจริญไปเป็น กิ่ง ใบ หรือดอก ต่อไป และ ปล้อง (Internode) ซึ่งอยู่ระหว่างข้อ โดยในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะเห็นข้อและปล้องชัดเจน แต่ในพืชใบเลี้ยงคู่ เห็นข้อและปล้องชัดเจนในขณะที่เป็นต้นอ่อนหรือกิ่งอ่อน แต่เมื่อเจริญเติบโตและมี Cork มาหุ้ม ทำให้เห็นข้อและปล้องไม่ชัดเจน





โครงสร้างของลำต้น

1.โครงสร้างภายในของปลายยอดพืชบริเวณปลายยอดพืชสามารถแบ่งออกเป็นบริเวณ(region/zone)  ได้ทั้งหมด 3 บริเวณด้วยกันคือ
               1.บริเวณเซลล์แบ่งตัว(region of cell division)
               2.บริเวณเซลล์ยืดตัว(region of cell elongation)
               3.บริเวณเซลล์เจริญเต็มที่ (region of maturation)



2.โครงสร้างภายในของลำต้นที่ตัดตามขวาง   เมื่อนำปลายยอดของพืชมาตัดตามขวางบริเวณเซลล์เจริญเต็มที่จะพบว่าโครงสร้าง ภายในประกอบด้วยเนื้อเยื่อชนิดต่างๆตามแต่ชนิดของพืชโดยแบ่งได้ดังนี้


      2.1.โครงสร้างภายในของลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่ 



               epidermis     เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุด ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้แก่เนื้อเยื่อภายในของลำต้น  ส่วนใหญ่เซลล์เรียงตัวเพียงชั้นเดียว  พืชบางชนิด epidermis มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นส่วนของ trichome / hair  และ  guard cell 

                ในต้นพืชที่อายุมากส่วนใหญ่แล้วส่วนของ epidermis จะหลุดหายไปเพราะถูกแทนที่ด้วยส่วนของคอร์ก
               cortex (คอร์เทกซ์)   คอร์เทกซ์เป็นชั้นของลำต้นที่มีอาณาเขตตั้งแต่ใต้ epidermis เข้ามาจนถึงเนื้อเยื่อเอนโดเดอมิส(endodermis)  ดังนั้นในชั้นคอร์เทกซ์จึงประกอบด้วยเนื้อเยื่อชนิดต่างๆได้แก่ 
 ชนิด รายละเอียด และ หน้าที่
 parenchyma  เป็นเนื้อเยื่อส่วนใหญ่ที่พบภายในลำต้น
 chlorenchyma  ทำหน้าที่ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
 aerenchyma  ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสะสมอากาศ  โดยเฉพาะพืชน้ำ
 collenchyma เพิ่มความแข็งแรงให้แก่ลำต้น
 sclerenchyma(fiber) ให้ความแข็งแรงแก่ลำต้น
              


                stele (สตีล)


                สตีลเป็นชั้นที่ถัดเข้ามาจากชั้นคอร์เทกซ์  โดยมีอาณาเขตตั้งแต่ใต้ endodermis เข้ามาจนถึงใจกลางของลำต้น  แต่เนื่องจากในลำต้นเนื้อเยื่อ endodermis ส่วนใหญ่เห็นได้ไม่ชัดเจนหรือหนังสือบางเล่มก็กล่าวว่าในลำต้นจะไม่มีเนื้อ เยื่อ endodermis  ทำให้ชั้นสตีลในลำต้นแบ่งแยกออกจากชั้นคอร์เทกซ์ได้ไม่ชัดเจนเหมือนในส่วน ของรากพืช  ภายในชั้นสตีลจะประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่สำคัญคือ
                  vascular bundle  หมายถึงกลุ่มของเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการลำเลียง 
ภายในเนื้อเยื่อ vascular bundle ของพืชใบเลี้ยงคู่ประกอบด้วย กลุ่มเนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร(phloem)เรียงตัวอยู่ทางด้านนอกและกลุ่มเนื้อ เยื่อลำเลียงน้ำ(xylem)เรียงตัวอยู่ทางด้านในหรือด้านที่ติดกับ pith  ระหว่าง xylem กับ phloem จะมีเนื้อเยื่อเจริญที่เรียกว่า vascular  cambium คั่นกลางอยู่ทำหน้าที่แบ่งเซลล์เพื่อให้กำเนิด xylem และ phloem
                   pith   เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ส่วนกลางของลำต้น  ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อประเภท
parenchyma  จึงทำหน้าที่ในการสะสมสารต่างๆ  ลำต้นของพืชใบเลี้ยงคู่บางชนิดเนื้อเยื่อในส่วนนี้อาจสลายไปกลายเป็น ช่องกลวงกลางลำต้น  เรียกช่องนี้ว่า  pith cavity 



  2.2โครงสร้างภายในของลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว 


               epidermis 

               เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุด ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้แก่เนื้อเยื่อภาย ในของลำต้น  ส่วนใหญ่เซลล์เรียงตัวเพียงชั้นเดียวและมีอยู่ตลอดไป ยกเว้นใน   ต้นพืชตระกูลปาล์มจะมีเฉพาะในปีแรกเท่านั้นเพราะต่อมาจะมีเนื้อเยื่อคอร์ก (cork) มาแทน
                cortex
                มีเนื้อเยื่อบางๆ1-2 ชั้น ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อชนิด parenchyma  และส่วนใหญ่ไม่พบ endodermis ทำให้อาณาเขตแบ่งได้ไม่ชัดเจน
    stele      


      vascular bundle   กลุ่มของเนื้อเยื่อลำเลียงของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ส่วนของ xylem, phloem จะเรียงตัวกันมองคล้ายๆใบหน้าคน  มีส่วนของ vessel อยู่บริเวณคล้ายดวงตา  ส่วน phloem อยู่บริเวณคล้ายหน้าผาก   xylem และ phloem จะถูกล้อมรอบด้วยเนื้อเยื่อ parenchyma หรืออาจเป็น sclerenchyma  และเรียกเซลล์ที่มาล้อมรอบนี้ว่า   bundle sheath   vascular bundle ของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวส่วนใหญ่ไม่พบเนื้อเยื่อเจริญ vascular cambium  ยกเว้นหมากผู้หมากเมีย  และพืชตระกูลปาล์ม

            
               pith    เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ส่วนกลางของลำต้น  ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อประเภท parenchyma  พืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด เช่น ข้าวโพด  ในเนื้อเยื่อของ pith นี้จะพบ vascular bundle กระจายอยู่เต็ม  นอกจากนี้พืชบางชนิดเนื้อเยื่อในส่วนนี้อาจสลายไปกลายเป็นช่องกลวงกลางลำ ต้น  เรียกว่า  pith cavity  เช่นต้นไผ่  ต้นข้าวเป็นต้น



               โครงสร้างลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว                         โครงสร้างลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่

       การเจริญเติบโตขั้นที่สอง (Secondary Growth) ของลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่ที่มีเนื้อไม้  เกิดจาก Vascular Cambium ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (Lateral meristem) โดยแทรกระหว่างกลุ่มของ Xylem และ Phloem (Xylem สร้างเข้าข้างใน Phloem สร้างออกข้างนอก ) มีผลให้ขนาดของลำต้นโตขึ้น ซึ่งในแต่ละปีการสร้าง Xylem และ Phloem ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำและแร่ธาตุ โดยในฤดูฝน Xylem ว้าง สีจาง ฤดูแล้ง Xylem เห็นเป็นแถบแคบๆ สีเข้ม ทำให้เนื้อไม้มีสีที่ต่างกัน เป็นวงชัดเจน เรียกว่า วงปี (Annual ring)



           แก่นไม้ (heart wood) มาจากไซเล็มขั้นต้นที่ด้านที่อยู่ในสุดของลำต้นหรือรากที่มีอายุมากแล้วอุดตัน
          กระพี้ไม้ (sapwood) คือ ไซเลมที่อยู่รอบนอกซึ่งมีสีจางกว่าชั้นในทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ
          เนื้อไม้ (wood) คือ เนื้อเยื่อไซเลมทั้งหมด (กระพี้ไม้+ แก่นไม้)
          เปลือกไม้ (bark) คือ ส่วนที่อยู่ถัดจากวาสคิวลาร์แคมเบียม ออกมา ประกอบด้วย โฟลเอ็มขั้นที่ 2 ทำหน้าที่ลำเลียงอาหาร ,คอร์กแคมเบียม, คอร์ก

หน้าที่และชนิดของลำต้น
หน้าที่หลักของลำต้น คือ
  1. นำน้ำ แร่ธาตุ และอาหารส่งผ่านไปยังส่วนต่างๆ ของลำต้น
  2. ช่วยพยุงกิ่งก้านสาขา ชูใบให้กางออกรับแสงแดดให้มากที่สุด
หน้าที่พิเศษของลำต้น คือ
  1. สะสมอาหาร โดยลำต้นสะสมอาหารแบ่งเป็น 4 ชนิด คือ
- แง่ง หรือเหง้า (Rhizome)  เช่น ขิง ขมิ้น ว่าน กล้วย เป็นต้น

- หัวเทียม (Tuber) เช่น มันฝรั่ง หญ้าแห้วหมู เป็นต้น
-  เป็นลำต้นตั้งตรง มีข้อปล้องชัดเจน เช่น เผือก เป็นต้น


-หัวกลีบ (Bulb) ลำต้นตั้งตรง มีใบเกล็ดซ้อนกันหลายชั้น สะสมอาหารในใบเกล็ด เช่น หัวหอม กระเทียม เป็นต้น


2. สังเคราะห์ด้วยแสง เป็นลำต้นที่มีคลอโรพลาสต์ เช่น กระบองเพชร พยาไร้ใบ
3.ใช้ในการขยายพันธุ์ เช่น การตอนกิ่ง การปักชำ และไหล (Runner/Stolon) ซึ่งพบใน บัวบก สตรอเบอรี่ เป็นต้น
4. ช่วยในการคายน้ำ โดยส่วนของลำต้นที่เป็นช่องเปิด เรียกว่า Lenticel
5. ลำต้นเปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่พิเศษ เช่น
- มือเกาะ (Tendril) เพื่อพยุงลำต้นและชูใบ เช่น ตำลึง องุ่น เป็นต้น

- ลำต้นทอดไปตามผิวดินหรือเหนือน้ำ (Climbing) เช่นผักบุ้ง ผักกระเฉด เป็นต้น


- ลำต้นเลื้อยพันหลัก (Twining)  เช่น เถาวัลย์ อัญชัน เป็นต้น
- ลำต้นเปลี่ยนเป็นหนาม (Thorn) เป็นต้น เช่น เฟื่องฟ้า มะกรูด เป็นต้น





อ้างอิง :
http://www.scimath.org/socialnetwork/groups/viewbulletin/1464-%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99?groupid=260
http://www.student.chula.ac.th/~56370191/content3.html

วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การจัดระเบียบของต้นพืช

การจัดระเบียบของต้นพืช

        พืช มีท่อลำเลียง ประกอบด้วยระบบราก (Root System) และระบบยอด(Shoot system) ระบบรากช่วยยึดต้นพืชไว้กับดินและซอนไซทะลุลงดิน เพื่อดูดซึมน้ำและแร่ธาตุ ระบบยอดประกอบด้วยลำต้นและใบ ลำต้นเป็นโครงร่างที่ให้ใบยึดเกาะใบเป็นแหล่งอาหารโดยการสังเคราะห์ด้วยแสง
  ในพืชมีท่อลำเลียง เนื้อเยื่อจัดระเบียบกันเป็นระบบเนื้อเยื่อ (Tissue system)ซึ่งประกอบด้วยระบบเนื้อเยื่อ 3 ชนิดคือ
            1. ระบบเนื้อเยื่อพื้น (Ground tissue system) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเชิงเดี่ยว(Simple tissue , เนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์ชนิดเดียว) 3 ชนิดคือ เนื้อเยื่อพาเรงคิมาเซลล์คอลเลงคิมา และเซลล์สเกลอเรงคิมา ซึ่งประกอบด้วย เซลล์พาเรงคิมา และเซลล์สเกลอเรงคิมาตามลำดับ ส่วนใหญ่ของต้นพืชประกอบด้วยเนื้อเยื่อระบบนี้ ทำหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งสังเคราะห์ด้วยแสง เก็บสะสมอาหารและให้ความแข็งแรงแก่ต้นพืช
            2. ระบบเนื้อเยื่อลำเลียง (Vasscular tissue system) ประกอบด้วย เนื้อเยื่อเชิงซ้อน (Complex tissue , เนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์หลายชนิด) มี 2 ชนิดคือเนื้อเยื่อไซเลมและเนื้อเยื่อโฟลเอ็มที่ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ และแร่ธาตุกับลำเลียงสารอาหารซึ่งการลำเลียงจะติดต่อกันทั่วต้นพืช
            3. ระบบเนื้อเยื่อผิว (Dermal tissue system) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่ปกคลุมต้นพืช ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเชิงซ้อน 2 ชนิด คือ เอพิเดอร์มิส และเพริเดิร์ม (Periderm)เนื้อเยื่อ เพริเดิร์มจะไปแทนที่ เอพิเดอร์มิส และเป็นเปลือกไม้ (Bark) ชั้นนอกของรากและลำต้นที่แก่แล้ว

โครงสร้างเนื้อเยื่อของพืชดอก(เนื้อเยื่อถาวร (Permanent tissue)

 2. เนื้อเยื่อถาวร (Permanent tissue)
เนื้อเยื่อถาวรเป็นกลุ่มเซลล์ที่มีรูปร่างและหน้าที่แตกต่างกันไป แยกออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภทตามหน้าที่ดังนี้
       

 2.1 เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว (Simple permanent tissue)
เนื้อ เยื่อถาวรเชิงเดี่ยว เป็นกลุ่มเซลล์ที่ประกอบด้วยเซลล์ชนิดเดียวกัน ทำหน้าที่อย่างเดียวกันแบ่งออกเป็นชนิดต่าง ๆ ตามหน้าที่ได้ 2 ประเภท ดังนี้
            2.1.1 เนื้อเยื่อป้องกัน (Protective tissue) แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ               


 1) เอพิเดอร์มิส (Epidermis) คือเนื้อเยื่อที่อยู่ด้านนอกสุดของส่วนต่าง ๆ ของพืช มักเรียงตัวชั้นเดียว ผนังเซลล์บาง ไม่มีคลอโรพลาสต์ เซลล์มีลักษณะ แบน มีแวคิวโอลขนาดใหญ่ เซลล์เรียงตัวอัดแน่นจนไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ผนังเซลล์ที่อยู่ด้านนอก มักหนากว่าผนังเซลล์ที่อยู่ด้านใน มีคิวทิน (Cutin) เคลือบผนังเซลล์มีการเจริญเปลี่ยนแปลงไปเป็นขนราก (Root hair) เซลล์คุม (Guard cell) ขน (Trichome) และ ต่อม (Gland)เนื้อเยื่อเอพิเดอร์มิสทำหน้าที่ปกคลุมและป้องกันอันตรายให้แก่พืช                        
 2) คอร์ก (Cork) หรือเฟลเลม (Phellem) 
เป็น เนื้อเยื่อที่เกิดจากการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสของ คอร์ก แคมเบียม หรือเฟลโลเจน (Phellogen) โดยเมื่อคอร์ก เติบโตเต็มที่แล้วโพรโทพลาซึม และเยื่อหุ้มเซลล์จะสลายไป เหลือเฉพาะผนังเซลล์ที่มี ซูเบอริน (Suberin) และคิวติน (Cutin) สะสมซึ่งน้ำจะผ่านไม่ได้


           2.1.2 เนื้อเยื่อพื้น (Ground tissue) 
เป็นเนื้อเยื่อที่เป็นองค์ประกอบในราก ลำต้น ใบ ดอก เป็นตัวกลาง ให้เนื้อเยื่ออื่นเจริญแทรกตัวอยู่ มีหลายประเภทได้แก่
    

                                              1) พาเรงคิมา (Parenchyma) 
       เนื้อเยื่อชนิดนี้พบได้ทั่ว ๆ ไปในพืชประกอบด้วยเซลล์ที่มีรูปร่างหลายแบบได้แก่ ค่อนข้างกลม รี หรือรูปทรงกระบอกเมื่อ เรียงตัวติดกัน จึงเกิดช่องว่างระหว่างเซลล์ (Intercellular space) มีแวคิวโอลขนาดใหญ่เกือบเต็มเซลล์ เซลล์พาเรงคิมาบางชนิดมีคลอโรพลาสต์อยู่ด้วย อาจเรียกว่าคลอเรงคิมา (Chlorenchyma) (อย่าสับสนกับคอลเลงคิมา) ผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลลูโลส (Cellulose) เป็นส่วนใหญ่ อาจมีเฮมิเซลลูโลส (Hemicellulose) และเพกติน(Pectin) บ้าง เนื้อเยื่อพาเรงคิมามีหน้าที่เก็บสะสมเม็ดแป้ง หยดน้ำมัน น้ำ เกลือแร่ และหลั่งสารพวกแทนนิน ฮอร์โมน เอนไซม์ และน้ำหวานของดอกไม้
                             



 2) คอลเลงคิมา (Collenchyma) 
เนื้อ เยื่อที่มีเซลล์คอลเลงคิมาจะมีรูปร่างคล้ายคลึงกับพาเรงคิมา ผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลลูโลส แต่ผนังเซลล์จะมีความหนาไม่เท่ากัน โดยส่วนที่หนามักจะอยู่ตามมุมเซลล์ ซึ่งมีเพกตินมากนอกเหนือไปจากเซลลูโลส และเฮมิเซลลูโลส พบเนื้อเยื่อชนิดนี้อยู่ตามก้านใบ เส้นกลางใบและในส่วน 
คอร์เทกซ์ (Cortex) (คอร์เท็กซ์เป็นชั้นของเนื้อเยื่อที่อยู่ถัดจากชั้นเอพิเดอร์มิสเข้าไปทั้ง ในลำต้น และรากซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปในเรื่องของรากและลำต้น)
ของพืชล้มลุก มีหน้าที่ทำความแข็งแรงให้กับพืช
                                        
                                            3) สเกลอเรงคิมา (Sclerenchyma) 
เนื้อ เยื่อชนิดนี้ประกอบด้วยเซลล์ที่มีผนังหนามากมีผนังเซลล์ทั้งปฐมภูมิ (Primarycell wall) และผนังเซลล์ทุติยภูมิ(Secondary cell wall) เพราะมีสารลิกนิน (Lignin) เคลือบผนังเซลล์ทุติยภูมิ (Secondarycell wall) จึงเป็นส่วนที่ทำให้พืชมีความแข็งแรง สเกลอเรงคิมาประกอบด้วยเซลล์ 2ชนิดคือ ไฟเบอร์ (Fiber) และ สเกลอรีด (Sclerid) ซึ่งแตกต่างกันที่รูปร่างของเซลล์ไฟเบอร์เป็นเซลล์เรียวและยาว ส่วนสเกลอรีด เซลล์มีลักษณะสั้นกว่าและมีรูปร่างแตกต่างกัน พบได้ตามส่วนที่แข็งแรงของเปลือกไม้และเปลือกหุ้มเมล็ดหรือเนื้อผลไม้ที่สาก ๆ
     
                                    
    4) เอนโดเดอร์มิส (Endodermis) 
เป็น เนื้อเยื่อที่อยู่ด้านนอกของเนื้อเยื่อลำเลียงของราก เป็นเนื้อเยื่อที่มีเซลล์คล้ายพาเรงคิงมา แต่ที่ผนังเซลล์มีสารลิกนินและซูเบอร์ลิน (Suberin) (ซึ่งเป็นสารพวกขี้ผึ้ง) มาพอกหนาเซลล์เรียงตัวกันแน่นจนไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์


        2.2 เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน (Complex permanent tissue)
เนื้อ เยื่อถาวรเชิงซ้อน เป็นกลุ่มเซลล์ที่ประกอบด้วยเซลล์หลายชนิดอยู่รวมกันและทำงานร่วมกันเป็น เนื้อเยื่อลำเลียง (Vascular tissue) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้

               2.2.1 ไซเลม (Xylem)
ไซ เลม ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุจากรากไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืชซึ่งเรียกว่า คอนดักชัน (Conduction) ไซเลมประกอบด้วยเซลล์ 4 ชนิดคือ
          1) เซลล์พาเรงคิมา (Parenchyma) เป็นเซลล์ชนิดเดียวกับที่อยู่ในชั้นคอร์เทกซ์และพิธ (Pith คือชั้นที่อยู่ใจกลางของรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว) เป็นเซลล์ที่อ่อนนุ่มผนังบาง อมน้ำได้ดี ทำหน้าที่สะสมอาหารพวกแป้ง เซลล์พาเรงคิมานี้เรียกว่าไซเลมพาเรงคิมา (Xylem parenchyma)
         2) ไฟเบอร์ (Fiber) เป็นเซลล์รูปร่างยาวปลายเรียว มีผนังเซลล์หนามีความยาวเหนียวและแข็งแรง แทรกอยู่ในไซเลม
         3) เทรคีด (Tracheid) เป็นเซลล์ยาวผนังหนามีลิกนินสะสมอยู่มากที่ผนังเซลล์ ส่วนใหญ่มักมีส่วนบาง ๆ เป็นระยะ เรียกว่า เซลล์มีรู (Pit) ซึ่งไม่มีลิกนินสะสม เซลล์มีรูเป็นบริเวณที่น้ำผ่านจากเทรคีดของเซลล์หนึ่งไปอีกเซลล์หนึ่ง ปลายสุดของเซลล์มักแหลม เซลล์เมื่อโตเต็มที่แล้วมักจะตายโพรโทพลาซึมสลายไปทำให้เกิดเป็นช่อง (Lumen) ตรงกลาง เซลล์มีรูปร่างทรงกระบอกหรือเป็นสี่เหลี่ยม พบมากในพวกเฟิร์นและจิมโนสเปิร์ม ในพืชดอกมีจำนวนน้อยกว่ามาก และไม่พบในพวกมอสเทรคีดมีหน้าที่ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ และยังสามารถส่งออกไปทางด้านข้างโดยผ่านเซลล์มีรู การลำเลียง จะเกิดได้ดีต่อเมื่อเซลล์ตายแล้ว เนื่องจากเทรคีด มีความแข็งแรงจึงช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับส่วนของพืชที่มีเซลล์ชนิดนี้อยู่
         4) เวสเซล อีลีเมนต์ (Vessel element) เป็นเซลล์ที่มีลักษณะคล้ายเทรคีด คือ เมื่อเซลล์โตเต็มที่แล้วจะตายไป โพรโทพลาซึมตรงกลางจะสลายไป
กลาย เป็นช่อง (Lumen) ใหญ่ เซลล์มีผนังหนา เพราะมีลิกนินสะสมเช่นเดียวกับเทรคีดและเซลล์มีรูเช่นเดียวกับเทรคีด เซลล์มีขนาดใหญ่แต่สั้นกว่า
เท รคีด ปลายทั้งสองของเซลล์ตัดเฉียงและมีรูพรุน (Perforation) เวสเซล อีลีเมนต์จะมาเรียงซ้อนกันโดยต่อกันเป็นท่อเรียกว่า เวสเซล (Vessel) 
ที่มีผนังด้านข้างหนาและแข็งแรงมาก เพื่อทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ เช่นเดียวกับเทรคีด



        2.2.2 โฟลเอ็ม (Phloem)
โฟล เอ็มทำหน้าที่ลำเลียงอาหารหรืออินทรีย์สารจากใบไปยังส่วนต่าง ๆของพืช การลำเลียงน้ำทางโฟลเอ็มเรียกว่า ทรานสโลเคชัน (Translocation)
โฟลเอ็มประกอบด้วยเซลล์ 4 ชนิดคือ
            1) เซลล์พาเรงคิมา (Parenchyma) มีอยู่ในกลุ่มของโฟลเอมเช่นเดียวกับไซเลม
            2) ไฟเบอร์ (Fiber) เป็นเส้นใยช่วยทำให้โฟลเอ็มแข็งแรง
            3) ซีฟทิวบ์เมมเบอร์ (Sieve tube member) เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตรูปร่างยาวทรงกระบอก ด้านสุดปลายทั้งสองของเซลล์มีลักษณะตัดเฉียงบริเวณนี้มี
แผ่น ที่มีรูพรุนอยู่ด้วยเรียกว่า ซีฟเพลต (Sieve plate) ในตอนที่เกิดใหม่ซีฟทิวบ์มีนิวเคลียส แต่เมื่อเจริญเต็มที่แล้วนิวเคลียสและออร์แกเนลล์อื่น ๆ สลายไป แต่เซลล์ยังมีชีวิตอยู่ (ท่อของไซเลม คือ เทรคีดและเวสเซล ขณะที่ทำหน้าที่ลำเลียง เป็นเซลล์ ที่ตายแล้วแต่ท่อของโฟลเอ็มคือ ซีฟทิวบ์เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ถึงแม้จะไม่มีนิวเคลียสแล้วก็ตาม) ซีฟทิวบ์เมมเบอร์แต่ละเซลล์จะมาเรียงต่อกันเป็นท่อยาว เรียกว่า ซีฟทิวบ์ (Sieve tube) 
ซึ่งทำหน้าที่เป็นท่อลำเลียงอาหาร
            4) คอมพาเนียนเซลล์ (Companion cell) เป็น เซลล์ขนาดเล็กอยู่ติดกับซีฟทิวบ์เมมเบอร์ ความจริงทั้งซีฟทิวบ์เมมเบอร์และคอมพาเนียนเซลล์นั้นเกิดมาจากเซลล์ เดียวกัน เมื่อแบ่งเซลล์ได้เซลล์ใหม่ 2 เซลล์ เซลล์หนึ่งจะเปลี่ยนเป็นซีฟทิวบ์เมมเบอร์ อีกเซลล์หนึ่งเป็นคอมพาเนียนเซลล์ ซีฟทิวบ์เมมเบอร์อาจมีคอมพาเนียนเซลล์เพียง 1 หรือมากกว่า 1 ก็ได้อยู่ข้าง ๆ ทำหน้าที่ช่วยเหลือซีฟทิวบ์เมมเบอร์ ซึ่งไม่มีนิวเคลียสแล้ว เช่น ช่วยขนส่งน้ำตาลเข้ามาในซีฟทิวบ์เมมเบอร์เพื่อส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช และช่วยสร้างเอ็นไซม์ หรือสารอื่นให้กับซีฟทิวบ์เมมเบอร์