วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

โครงสร้างเนื้อเยื่อของพืชดอก (Plant tissue)


         เนื้อเยื่อของพืชดอก (Plant tissue)เนื้อเยื่อของพืชชั้นสูง (Plant tissue) หรือเนื้อเยื่อของพืชดอก แบ่งตามความสามารถในการแบ่งเซลล์ได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. เนื้อเยื่อเจริญ (Meristematic tissue หรือ Meristem)

            เนื้อเยื่อเจริญ หมายถึงเนื้อเยื่อที่มีเซลล์กำลังแบ่งตัวแบบไมโทซิส (Mitosis) เพื่อสร้างเซลล์ใหม่พบมากตามบริเวณปลายยอดหรือปลายราก ลักษณะ เด่นของเซลล์ที่อยู่ในกลุ่มเนื้อเยื่อเจริญคือ เซลล์ยังมีชีวิตอยู่ มีโพรโทพลาซึมที่ข้นมาก ผนังเซลล์ (Cell wall) บางและมักเป็นสารประกอบเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่ ภายในเซลล์ เห็นนิวเคลียสได้ชัดเจนและมีขนาดใหญ่ เมื่อเปรียบเทียบกับไซโทพลาซึม มีแวคิวโอล ขนาดเล็กหรือเกือบไม่มีแวคิวโอล เซลล์มีรูปร่างแตกต่างกันหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่รูปร่างค่อนข้างกลม หรือมีลักษณะหลายเหลี่ยม ทุกเซลล์แบ่งตัวได้ แต่ละเซลล์อยู่ชิดติดกันมากทำให้ช่องว่างระหว่างเซลล์ (Intercellular space) แทบจะไม่มี หรือไม่มีเลย เซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญยังมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อไปทำหน้าที่ต่าง ๆการเจริญเติบโตที่เกิดจากเนื้อเยื่อเจริญมี 2 แบบ คือ การเจริญเติบโตขั้นแรก(Primary growth) และการเจริญเติบโตขั้นที่สอง (Secondary growth) การเจริญเติบโตขั้นแรกจะทำให้รากและลำต้นมีความยาวเพิ่มขึ้น การเจริญเติบโตขั้นที่สอง จะทำให้พืชมีความกว้างเพิ่มขึ้น เนื้อเยื่อเจริญแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 

 1.1 เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (Apical meristem)เนื้อ เยื่อเจริญส่วนปลาย หรือเอพิคอลเมอริสเต็ม เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่บริเวณปลายยอดหรือปลายราก รวมทั้งที่ตา (Bud) ของลำต้นของพืชเมื่อแบ่งเซลล์แล้วทำให้ปลายยอดหรือปลายรากยืดยาวออกไป


                                        ตัวอย่างเนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย
                                   

  1.2 เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ (Intercalary meristem)
เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อเป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่เหนือโคนปล้อง (Internode) หรือเหนือข้อ(Node) ทำให้ปล้องยืดยาวขึ้น พบได้ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด เช่น หญ้าข้าว ข้าวโพด ไผ่ อ้อย เป็นต้

                                        ตัวอย่างเนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ
   1.3 เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (Lateral meristem)
เนื้อ เยื่อเจริญด้านข้าง เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่ทางด้านข้างของรากหรือลำต้นทำการแบ่งตัวทำให้ เพิ่มขนาดของรากหรือลำต้น เนื้อเยื่อเจริญด้านข้างทำให้เกิดการเจริญขั้นที่สอง พบในพืชใบเลี้ยงคู่ทั่ว ๆไป และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด เช่น จันทน์ผา หมากผู้หมากเมีย เป็นต้น เนื้อเยื่อเจริญชนิดนี้เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าแคมเบียม (Cambium) ถ้าเป็น เนื้อเยื่อเจริญที่อยู่ในกลุ่มของท่อลำเลียง เรียกว่าวาสคิวลาร์แคมเบียม (Vascular cambium) หากเนื้อเยื่อเจริญนั้นอยู่ถัดจากเนื้อเยื่อชั้นนอก ของรากหรือลำต้นเข้าไปข้างในเรียกว่า คอร์กแคมเบียม(Cork cambium)
                                     ตัวอย่างเนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง
                       





อ้างอิง:
http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/48/content/c1.html

http://e-book.ram.edu/e-book/c/CU474/chapter9.pdf
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น