วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

โครงสร้างเนื้อเยื่อของพืชดอก(เนื้อเยื่อถาวร (Permanent tissue)

 2. เนื้อเยื่อถาวร (Permanent tissue)
เนื้อเยื่อถาวรเป็นกลุ่มเซลล์ที่มีรูปร่างและหน้าที่แตกต่างกันไป แยกออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภทตามหน้าที่ดังนี้
       

 2.1 เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว (Simple permanent tissue)
เนื้อ เยื่อถาวรเชิงเดี่ยว เป็นกลุ่มเซลล์ที่ประกอบด้วยเซลล์ชนิดเดียวกัน ทำหน้าที่อย่างเดียวกันแบ่งออกเป็นชนิดต่าง ๆ ตามหน้าที่ได้ 2 ประเภท ดังนี้
            2.1.1 เนื้อเยื่อป้องกัน (Protective tissue) แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ               


 1) เอพิเดอร์มิส (Epidermis) คือเนื้อเยื่อที่อยู่ด้านนอกสุดของส่วนต่าง ๆ ของพืช มักเรียงตัวชั้นเดียว ผนังเซลล์บาง ไม่มีคลอโรพลาสต์ เซลล์มีลักษณะ แบน มีแวคิวโอลขนาดใหญ่ เซลล์เรียงตัวอัดแน่นจนไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ผนังเซลล์ที่อยู่ด้านนอก มักหนากว่าผนังเซลล์ที่อยู่ด้านใน มีคิวทิน (Cutin) เคลือบผนังเซลล์มีการเจริญเปลี่ยนแปลงไปเป็นขนราก (Root hair) เซลล์คุม (Guard cell) ขน (Trichome) และ ต่อม (Gland)เนื้อเยื่อเอพิเดอร์มิสทำหน้าที่ปกคลุมและป้องกันอันตรายให้แก่พืช                        
 2) คอร์ก (Cork) หรือเฟลเลม (Phellem) 
เป็น เนื้อเยื่อที่เกิดจากการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสของ คอร์ก แคมเบียม หรือเฟลโลเจน (Phellogen) โดยเมื่อคอร์ก เติบโตเต็มที่แล้วโพรโทพลาซึม และเยื่อหุ้มเซลล์จะสลายไป เหลือเฉพาะผนังเซลล์ที่มี ซูเบอริน (Suberin) และคิวติน (Cutin) สะสมซึ่งน้ำจะผ่านไม่ได้


           2.1.2 เนื้อเยื่อพื้น (Ground tissue) 
เป็นเนื้อเยื่อที่เป็นองค์ประกอบในราก ลำต้น ใบ ดอก เป็นตัวกลาง ให้เนื้อเยื่ออื่นเจริญแทรกตัวอยู่ มีหลายประเภทได้แก่
    

                                              1) พาเรงคิมา (Parenchyma) 
       เนื้อเยื่อชนิดนี้พบได้ทั่ว ๆ ไปในพืชประกอบด้วยเซลล์ที่มีรูปร่างหลายแบบได้แก่ ค่อนข้างกลม รี หรือรูปทรงกระบอกเมื่อ เรียงตัวติดกัน จึงเกิดช่องว่างระหว่างเซลล์ (Intercellular space) มีแวคิวโอลขนาดใหญ่เกือบเต็มเซลล์ เซลล์พาเรงคิมาบางชนิดมีคลอโรพลาสต์อยู่ด้วย อาจเรียกว่าคลอเรงคิมา (Chlorenchyma) (อย่าสับสนกับคอลเลงคิมา) ผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลลูโลส (Cellulose) เป็นส่วนใหญ่ อาจมีเฮมิเซลลูโลส (Hemicellulose) และเพกติน(Pectin) บ้าง เนื้อเยื่อพาเรงคิมามีหน้าที่เก็บสะสมเม็ดแป้ง หยดน้ำมัน น้ำ เกลือแร่ และหลั่งสารพวกแทนนิน ฮอร์โมน เอนไซม์ และน้ำหวานของดอกไม้
                             



 2) คอลเลงคิมา (Collenchyma) 
เนื้อ เยื่อที่มีเซลล์คอลเลงคิมาจะมีรูปร่างคล้ายคลึงกับพาเรงคิมา ผนังเซลล์ประกอบด้วยเซลลูโลส แต่ผนังเซลล์จะมีความหนาไม่เท่ากัน โดยส่วนที่หนามักจะอยู่ตามมุมเซลล์ ซึ่งมีเพกตินมากนอกเหนือไปจากเซลลูโลส และเฮมิเซลลูโลส พบเนื้อเยื่อชนิดนี้อยู่ตามก้านใบ เส้นกลางใบและในส่วน 
คอร์เทกซ์ (Cortex) (คอร์เท็กซ์เป็นชั้นของเนื้อเยื่อที่อยู่ถัดจากชั้นเอพิเดอร์มิสเข้าไปทั้ง ในลำต้น และรากซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปในเรื่องของรากและลำต้น)
ของพืชล้มลุก มีหน้าที่ทำความแข็งแรงให้กับพืช
                                        
                                            3) สเกลอเรงคิมา (Sclerenchyma) 
เนื้อ เยื่อชนิดนี้ประกอบด้วยเซลล์ที่มีผนังหนามากมีผนังเซลล์ทั้งปฐมภูมิ (Primarycell wall) และผนังเซลล์ทุติยภูมิ(Secondary cell wall) เพราะมีสารลิกนิน (Lignin) เคลือบผนังเซลล์ทุติยภูมิ (Secondarycell wall) จึงเป็นส่วนที่ทำให้พืชมีความแข็งแรง สเกลอเรงคิมาประกอบด้วยเซลล์ 2ชนิดคือ ไฟเบอร์ (Fiber) และ สเกลอรีด (Sclerid) ซึ่งแตกต่างกันที่รูปร่างของเซลล์ไฟเบอร์เป็นเซลล์เรียวและยาว ส่วนสเกลอรีด เซลล์มีลักษณะสั้นกว่าและมีรูปร่างแตกต่างกัน พบได้ตามส่วนที่แข็งแรงของเปลือกไม้และเปลือกหุ้มเมล็ดหรือเนื้อผลไม้ที่สาก ๆ
     
                                    
    4) เอนโดเดอร์มิส (Endodermis) 
เป็น เนื้อเยื่อที่อยู่ด้านนอกของเนื้อเยื่อลำเลียงของราก เป็นเนื้อเยื่อที่มีเซลล์คล้ายพาเรงคิงมา แต่ที่ผนังเซลล์มีสารลิกนินและซูเบอร์ลิน (Suberin) (ซึ่งเป็นสารพวกขี้ผึ้ง) มาพอกหนาเซลล์เรียงตัวกันแน่นจนไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์


        2.2 เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน (Complex permanent tissue)
เนื้อ เยื่อถาวรเชิงซ้อน เป็นกลุ่มเซลล์ที่ประกอบด้วยเซลล์หลายชนิดอยู่รวมกันและทำงานร่วมกันเป็น เนื้อเยื่อลำเลียง (Vascular tissue) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้

               2.2.1 ไซเลม (Xylem)
ไซ เลม ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุจากรากไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืชซึ่งเรียกว่า คอนดักชัน (Conduction) ไซเลมประกอบด้วยเซลล์ 4 ชนิดคือ
          1) เซลล์พาเรงคิมา (Parenchyma) เป็นเซลล์ชนิดเดียวกับที่อยู่ในชั้นคอร์เทกซ์และพิธ (Pith คือชั้นที่อยู่ใจกลางของรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว) เป็นเซลล์ที่อ่อนนุ่มผนังบาง อมน้ำได้ดี ทำหน้าที่สะสมอาหารพวกแป้ง เซลล์พาเรงคิมานี้เรียกว่าไซเลมพาเรงคิมา (Xylem parenchyma)
         2) ไฟเบอร์ (Fiber) เป็นเซลล์รูปร่างยาวปลายเรียว มีผนังเซลล์หนามีความยาวเหนียวและแข็งแรง แทรกอยู่ในไซเลม
         3) เทรคีด (Tracheid) เป็นเซลล์ยาวผนังหนามีลิกนินสะสมอยู่มากที่ผนังเซลล์ ส่วนใหญ่มักมีส่วนบาง ๆ เป็นระยะ เรียกว่า เซลล์มีรู (Pit) ซึ่งไม่มีลิกนินสะสม เซลล์มีรูเป็นบริเวณที่น้ำผ่านจากเทรคีดของเซลล์หนึ่งไปอีกเซลล์หนึ่ง ปลายสุดของเซลล์มักแหลม เซลล์เมื่อโตเต็มที่แล้วมักจะตายโพรโทพลาซึมสลายไปทำให้เกิดเป็นช่อง (Lumen) ตรงกลาง เซลล์มีรูปร่างทรงกระบอกหรือเป็นสี่เหลี่ยม พบมากในพวกเฟิร์นและจิมโนสเปิร์ม ในพืชดอกมีจำนวนน้อยกว่ามาก และไม่พบในพวกมอสเทรคีดมีหน้าที่ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ และยังสามารถส่งออกไปทางด้านข้างโดยผ่านเซลล์มีรู การลำเลียง จะเกิดได้ดีต่อเมื่อเซลล์ตายแล้ว เนื่องจากเทรคีด มีความแข็งแรงจึงช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับส่วนของพืชที่มีเซลล์ชนิดนี้อยู่
         4) เวสเซล อีลีเมนต์ (Vessel element) เป็นเซลล์ที่มีลักษณะคล้ายเทรคีด คือ เมื่อเซลล์โตเต็มที่แล้วจะตายไป โพรโทพลาซึมตรงกลางจะสลายไป
กลาย เป็นช่อง (Lumen) ใหญ่ เซลล์มีผนังหนา เพราะมีลิกนินสะสมเช่นเดียวกับเทรคีดและเซลล์มีรูเช่นเดียวกับเทรคีด เซลล์มีขนาดใหญ่แต่สั้นกว่า
เท รคีด ปลายทั้งสองของเซลล์ตัดเฉียงและมีรูพรุน (Perforation) เวสเซล อีลีเมนต์จะมาเรียงซ้อนกันโดยต่อกันเป็นท่อเรียกว่า เวสเซล (Vessel) 
ที่มีผนังด้านข้างหนาและแข็งแรงมาก เพื่อทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ เช่นเดียวกับเทรคีด



        2.2.2 โฟลเอ็ม (Phloem)
โฟล เอ็มทำหน้าที่ลำเลียงอาหารหรืออินทรีย์สารจากใบไปยังส่วนต่าง ๆของพืช การลำเลียงน้ำทางโฟลเอ็มเรียกว่า ทรานสโลเคชัน (Translocation)
โฟลเอ็มประกอบด้วยเซลล์ 4 ชนิดคือ
            1) เซลล์พาเรงคิมา (Parenchyma) มีอยู่ในกลุ่มของโฟลเอมเช่นเดียวกับไซเลม
            2) ไฟเบอร์ (Fiber) เป็นเส้นใยช่วยทำให้โฟลเอ็มแข็งแรง
            3) ซีฟทิวบ์เมมเบอร์ (Sieve tube member) เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตรูปร่างยาวทรงกระบอก ด้านสุดปลายทั้งสองของเซลล์มีลักษณะตัดเฉียงบริเวณนี้มี
แผ่น ที่มีรูพรุนอยู่ด้วยเรียกว่า ซีฟเพลต (Sieve plate) ในตอนที่เกิดใหม่ซีฟทิวบ์มีนิวเคลียส แต่เมื่อเจริญเต็มที่แล้วนิวเคลียสและออร์แกเนลล์อื่น ๆ สลายไป แต่เซลล์ยังมีชีวิตอยู่ (ท่อของไซเลม คือ เทรคีดและเวสเซล ขณะที่ทำหน้าที่ลำเลียง เป็นเซลล์ ที่ตายแล้วแต่ท่อของโฟลเอ็มคือ ซีฟทิวบ์เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ถึงแม้จะไม่มีนิวเคลียสแล้วก็ตาม) ซีฟทิวบ์เมมเบอร์แต่ละเซลล์จะมาเรียงต่อกันเป็นท่อยาว เรียกว่า ซีฟทิวบ์ (Sieve tube) 
ซึ่งทำหน้าที่เป็นท่อลำเลียงอาหาร
            4) คอมพาเนียนเซลล์ (Companion cell) เป็น เซลล์ขนาดเล็กอยู่ติดกับซีฟทิวบ์เมมเบอร์ ความจริงทั้งซีฟทิวบ์เมมเบอร์และคอมพาเนียนเซลล์นั้นเกิดมาจากเซลล์ เดียวกัน เมื่อแบ่งเซลล์ได้เซลล์ใหม่ 2 เซลล์ เซลล์หนึ่งจะเปลี่ยนเป็นซีฟทิวบ์เมมเบอร์ อีกเซลล์หนึ่งเป็นคอมพาเนียนเซลล์ ซีฟทิวบ์เมมเบอร์อาจมีคอมพาเนียนเซลล์เพียง 1 หรือมากกว่า 1 ก็ได้อยู่ข้าง ๆ ทำหน้าที่ช่วยเหลือซีฟทิวบ์เมมเบอร์ ซึ่งไม่มีนิวเคลียสแล้ว เช่น ช่วยขนส่งน้ำตาลเข้ามาในซีฟทิวบ์เมมเบอร์เพื่อส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช และช่วยสร้างเอ็นไซม์ หรือสารอื่นให้กับซีฟทิวบ์เมมเบอร์






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น